คำขวัญโรงเรียน : เรียนดี กีฬาเด่น สีแวดล้อมสวยงาม

โรงเรียนสังขะ ตั้งขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2514 ในที่ดินที่ทางราชการ สงวนไว้ ณ หมู่ที่ 1 บ้านขวาว  ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และนายบุญศรี  บุญสุยา ศึกษาธิการ อำเภอสังขะ ขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง กรมสามัญศึกษาได้เปิดโรงเรียนแบบสหศึกษาครั้งแรก 2 ห้องเรียน มีครู - อาจารย์เริ่มแรก 4 ท่าน โดยมีนายชุมพร มะวิญธร รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

ดำเนินการเรียนการสอนครั้งแรกโดยอาศัยหอประชุม  อำเภอสังขะ  และศาลาการเปรียญ วัดโพธาราม สภาพอาคาร เรียนอาคารประกอบต่าง ๆ นักเรียน ครู อาจารย์ นักการภารโรงมีความก้าวหน้าเป็นลำดับดังนี้

          -   พ.ศ. 2514 - อาคารเรียนใช้หอประชุมและศาลาการเปรียญวัดโพธาราม อำเภอสังขะ นักเรียน 72 คน ครู - อาจารย์ 4 คน

          -   พ.ศ. 2515 - ได้ย้ายไปเรียนที่อาคารเรียนหลังใหม่ในที่สงวนของทางราชการ(ปัจจุบัน), เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มีนักเรียนประมาณ 199 คน ครู - อาจารย์ 9 คน และนักการภารโรง 1 คน

 โรงเรียนสังขะได้พัฒนาคุณภาพการศึกษาและส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายทั้งด้านวิชาการ  ด้านดนตรี  และด้านกีฬา

ปรัชญา

สุวิชฺชา โลกวฑฺฒนา “ความรู้ดี ทำให้โลกเจริญ”

อัตลักษณ์

“ยิ้มง่าย ไหว้สวย”

เอกลักษณ์

“กีฬาเด่น ดนตรีพร้อม สิ่งแวดล้อมสวยงาม”

"เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด"

บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกลุ่มบริหารวิชาการ
  • เป็นที่ปรึกษาในการกำหนดทิศทาง และแนวนโยบายในการดำเนินงานของกลุ่มบริหารวิชาการ
  • วางแผนนำแนวนโยบายของโรงเรียนในด้านการบริหารงานกลุ่มบริหารวิชาการไปสู่การปฏิบัติ
  • ร่วมประชุมเพื่อรับทราบข้อมูลแนวปฏิบัติต่างๆ ให้ทันเหตุการณ์ รวมทั้งให้คำปรึกษาหารือในการพัฒนางานตามความเหมาะสม
  • เป็นกรรมการที่ปรึกษา ให้คำแนะนำงานทั่วไปของกลุ่มบริหารวิชาการ  ด้านต่างๆ
    1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
    2. การพัฒนาและการจัดการเรียนการสอน
    3. การจัดบรรยากาศส่งเสริมการเรียนการสอน
    4. การวัดและการประเมินผลการเรียน
    5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
    6. อื่นๆ ตามความเหมาะสม
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานในการจัดการเรียนการสอนตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียน เพื่อให้มีสัมฤทธิ์ผลตามหลักการ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
  • เสนอแนะความคิดเห็นและให้ความร่วมมือช่วยเหลือ สนับสนุนในการดำเนินงานของกลุ่มตลอดจนเสริมสร้างความเข้าใจกับบุคลากรทุกกลุ่มภายในโรงเรียนและบุคลากรภายนอกโรงเรียน เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มบริหารวิชาการ ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
  • ร่วมจัดทำแผนการเรียนของโรงเรียน
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย